ผลงานเพลง
- ตัวอย่างเลว
- นิราศรักพุมเรียง
- หมอนข้าง
- หัวใจจัดสรร
- สุราษฎร์แห่งความหลัง
- หนุ่มล่องซุง
- ชีวิตสาริกา
- ทำพรือมันเล่า
- แสนหวังเหวิด
- แต๋วจ๋า
- ผ้าขาวม้า
- รินดาที่รัก
ฯลฯ
สาริกา กิ่งทอง ( สาลิกา ก็เรียก ) หรือ ชื่อจริงว่า สาริกา ล้ำเลิศสกุล เป็นนักร้องลูกทุ่งชื่อดังคนหนึ่งของประเทศไทย และถือกันว่าเป็นขุนพลเพลงลูกทุ่งหญิงจากแดนใต้คนแรกๆของประเทศ เธอเป็นบุตรสาวของนายจูเลี่ยม กิ่งทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(หนังตะลุง) ปี 2535 และนายหนังตะลุงชื่อดังของจังหวัดชุมพร โดยสาริกามีผลงานเพลงดังติดหูคนไทยมากมายหลายเพลง
ชายหรือหญิง
สาริกา กิ่งทอง สร้างความตื่นตะลึงขนานใหญ่ ให้กับวงการเพลงลูกทุ่งเมืองไทยเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เมื่อผู้เป็นบิดาจัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งชื่อคณะ สาริกา กิ่งทอง และเปิดทำการแสดงทั่วไป สาริกาได้รับความสนใจจากแฟนเพลงมากมาย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เธอเป็นที่จับตามองนั้น นอกจากผลงานเพลงชื่อ “ แต๋วจ๋า” และอื่นๆ จะเป็นที่ติดอกติดใจแฟนเพลงไม่น้อยแล้ว ก็เป็นเพราะความสงสัยของแฟนเพลงทั่วประเทศว่า สาริกาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่ เพราะแม้เนื้อหาเพลง “แต๋วจ๋า “ และ เพลงอื่นๆของสาริกา จะเป็นบทเพลงสำหรับนักร้องชาย และหลายเพลงก็เป็นการร้องในทำนองเกี้ยวสาว ตัวสาริกาเองก็อยู่ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบนักร้องชาย ทว่าน้ำเสียง และหน้าตาท่าทางของเธอออกไปผู้หญิงมากกว่า จนในที่ สุด หลังจากที่สงสัยกันมานาน ก็มีการเปิดเผยออกมาว่า สาริกา เป็นผู้หญิง และในการเปิดการแสดง ต้องมีการใช้ผ้าพันทรวงอก เพื่อปิดบังสัญลักษณ์ความเป็นสตรี
ผลงาน
ผลงานเพลงของสาริกานั้น มากมายหลายเพลงเกิดจากการประพันธ์ของผู้เป็นบิดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงที่ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น “ แต๋วจ๋า “ , “ แสนหวังเหวิด “ , “ ทำพรือมันเล่า “ ,“ หนุ่มล่องซุง”, “นิราศรักพุมเรียง” นอกจากนั้น ครูจูเลี่ยม ยังทำหน้าที่ควบคุมการร้องของลูกสาวหัวใจชายคนนี้เองด้วย สำหรับเพลง”แสนหวังเหวิด” ที่ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองโดยครูจูเลี่ยมนั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นในงานกึ่งศตวรรตเพลงลูกทุ่งไทยด้วย
ในส่วนของเพลงแต๋วจ๋า ที่ถือว่าเป็นผลงานที่ฮิตที่สุดของสาริกานั้น ในช่วงที่เพลงกำลังดัง ก็เคยมีคนนำ เพลงนี้ไปปรับเนื้อร้องใหม่ พร้อมกับให้ชื่อใหม่ว่า " ตุ๊จ๋า " เพื่อใช้ขับร้องในการชุมนุมขับไล่เผด็จการ ของขบวนการนักศึกษาและประชาชชยุคเมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
ตำนานถูกสานต่อ
สาลิกา กิ่งทอง เสียชีวิตไปนานแล้วด้วยโรคมะเร็งเต้านม และหลายปีหลังจากที่เธอจากโลกนี้ไป เพลง "นิราศรักพุมเรียง" ที่ร้องไว้ ก็เพิ่งได้รับการร้องแก้ โดยเมื่อปี 2549 รัชนก ศรีโลพันธุ์ นักร้องลูก ทุ่งชาวใต้รุ่นใหม่ได้ร้องเพลง "รอที่พุมเรียง" เพื่อแก้เพลงของสาริกา เพราะตอนที่ครูสลา คุณวุฒิ วางแผนสร้างนักร้อง ได้ติดต่อขอให้ครูจูเลี่ยม ช่วยแต่งเพลงแก้ "นิราศรักพุมเรียง" ให้
ชายหรือหญิง
สาริกา กิ่งทอง สร้างความตื่นตะลึงขนานใหญ่ ให้กับวงการเพลงลูกทุ่งเมืองไทยเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เมื่อผู้เป็นบิดาจัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งชื่อคณะ สาริกา กิ่งทอง และเปิดทำการแสดงทั่วไป สาริกาได้รับความสนใจจากแฟนเพลงมากมาย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เธอเป็นที่จับตามองนั้น นอกจากผลงานเพลงชื่อ “ แต๋วจ๋า” และอื่นๆ จะเป็นที่ติดอกติดใจแฟนเพลงไม่น้อยแล้ว ก็เป็นเพราะความสงสัยของแฟนเพลงทั่วประเทศว่า สาริกาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่ เพราะแม้เนื้อหาเพลง “แต๋วจ๋า “ และ เพลงอื่นๆของสาริกา จะเป็นบทเพลงสำหรับนักร้องชาย และหลายเพลงก็เป็นการร้องในทำนองเกี้ยวสาว ตัวสาริกาเองก็อยู่ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบนักร้องชาย ทว่าน้ำเสียง และหน้าตาท่าทางของเธอออกไปผู้หญิงมากกว่า จนในที่ สุด หลังจากที่สงสัยกันมานาน ก็มีการเปิดเผยออกมาว่า สาริกา เป็นผู้หญิง และในการเปิดการแสดง ต้องมีการใช้ผ้าพันทรวงอก เพื่อปิดบังสัญลักษณ์ความเป็นสตรี
ผลงาน
ผลงานเพลงของสาริกานั้น มากมายหลายเพลงเกิดจากการประพันธ์ของผู้เป็นบิดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงที่ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น “ แต๋วจ๋า “ , “ แสนหวังเหวิด “ , “ ทำพรือมันเล่า “ ,“ หนุ่มล่องซุง”, “นิราศรักพุมเรียง” นอกจากนั้น ครูจูเลี่ยม ยังทำหน้าที่ควบคุมการร้องของลูกสาวหัวใจชายคนนี้เองด้วย สำหรับเพลง”แสนหวังเหวิด” ที่ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองโดยครูจูเลี่ยมนั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นในงานกึ่งศตวรรตเพลงลูกทุ่งไทยด้วย
ในส่วนของเพลงแต๋วจ๋า ที่ถือว่าเป็นผลงานที่ฮิตที่สุดของสาริกานั้น ในช่วงที่เพลงกำลังดัง ก็เคยมีคนนำ เพลงนี้ไปปรับเนื้อร้องใหม่ พร้อมกับให้ชื่อใหม่ว่า " ตุ๊จ๋า " เพื่อใช้ขับร้องในการชุมนุมขับไล่เผด็จการ ของขบวนการนักศึกษาและประชาชชยุคเมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
ตำนานถูกสานต่อ
สาลิกา กิ่งทอง เสียชีวิตไปนานแล้วด้วยโรคมะเร็งเต้านม และหลายปีหลังจากที่เธอจากโลกนี้ไป เพลง "นิราศรักพุมเรียง" ที่ร้องไว้ ก็เพิ่งได้รับการร้องแก้ โดยเมื่อปี 2549 รัชนก ศรีโลพันธุ์ นักร้องลูก ทุ่งชาวใต้รุ่นใหม่ได้ร้องเพลง "รอที่พุมเรียง" เพื่อแก้เพลงของสาริกา เพราะตอนที่ครูสลา คุณวุฒิ วางแผนสร้างนักร้อง ได้ติดต่อขอให้ครูจูเลี่ยม ช่วยแต่งเพลงแก้ "นิราศรักพุมเรียง" ให้
ขอบคุณข้อมูลจาก